ธรรมะวัดบุศย์ฯ

ธรรมะจากวัดบุศย์ฯ



1 จริยธรมของพ่อแม่
๑. ห้ามลูกไม่ให้ทำความชั่ว
๒.ให้ตั้งอยู่ในความดี
๓.ให้ศึกษาศิลปะวิทยา
๔.หาบุตร หรือภรรยาให้ในเวลาที่สมควร
๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาอันสมควร
2 จริยธรรมขอบบุตร ธิดา
๑.ท่านเลี้ยงเรามาแ้ล้ว เลี้ยงท่านตอบแทน
๒.ช่วยทำกิจการงานของท่าน
๓. ดำรงวงศ์ตระกูลของท่าน
๔.ประพฤติตัวให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก
๕. เมื่อท่านตายวายสังขารไปแล้ว กระทำบุญให้ท่าน
3 จริยธรรมของอุบาสก อุบาสิกา
๑. ประกอบด้วยศรัทธาตามหลักพระพุทธศาสนา
๒.มีศีลอันบริสุทธิ์
๓.ไม่ถือมงคลตื่นข่าว
๔.ไม่แสวงหาบุญนอกพระพุทธศาสนา
๕. บำเพ็ญบุญแต่ในพระพุทธศาสนา
4 จริยธรรมของแม่บ้าน ๑๐ ประการ
๑. อย่านำโทษ หรือเรื่องไม่ดีออกไปพูดนอกบ้าน (ไฟในอย่านำออก)
๒. อย่าเอาคำนินทาหรือ สิ่งไม่ดี เข้ามาพูดในบ้าน (ไฟนอกอย่านำเข้า)
๓. รู้จักตอบแทนแก่ผู้ที่เคยให้ หรือรู้จักให้
๔. อย่าให้แก่ผู้ที่ไม่ควรให้ เช่นคนเกียจคร้าน เป็นต้น
๕. รู้จักช่วยเหลือทั้งฝ่ายพ่อผัว แม่ผัว หรือ สามี
๖. ไม่นิ่งเฉยในเมื่อ พ่อผัว แม่ผัว หรือสามีทำงาน
๗. ไม่บริโภคก่อน (สมัยโบราณ) พ่อผัว แม่ผัว หรือสามี
๘. ตื่นก่อน นอนทีหลัง รู้จักปรนนิบัติครอบครัวให้เหมาะสม
๙. ให้มีความยำเกรง พ่อผัว แม่ผัว หรือสามี เหมือนกองไฟ หรืองูพิษ
๑๐. ให้มีความยำเกรง พ่อผัว แม่ผัว หรือสามี เหมืิอนเคารพเทวดา
5 จริยธรรมของพ่อบ้าน มี ๕ ประการ
๑. รู้จักปกครองตนเองและครอบครัว
๒. เห็นภัยของความยากจน เห็นภัยของอบายมุข ๔ และ ๖
๓. พอใจในภรรยา หรือคู่ครองของตนเอง
๔. มุ่งหาความเจริญก้าวหน้า ไม่ถอยหลัง ไม่อ่อนแอ แต่อย่าแข็งกระด้าง
๕. ทำตนเป็นตัวอย่างผู้นำที่ดี
6 จริยธรรมของผู้ใหญ่บ้าน ๔ ประการ
๑. ควรมีสังคหวัตถุ ๔ อย่างคือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา
๒. มีพรหมวิหารธรรม คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
๓. ทันตา ให้รู้จักปรับปรุงตัวให้เข้ากับลูกบ้าน
๔. เว้นจากอคติ ๔ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ
 7 จริยธรรมของลูกบ้าน มี ๕ ประการ
๑. เชื่อฟังคำสั่ง
๒. อยู่ในขอบเขตของระเบียบแบบแผน ไม่นอกรีต นอกระดับ
๓. ขยันทำการงาน
๔. คบคนดี หลบหนีคนชั่ว
๕. รู้จักใช้จ่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อตามเพื่อน หรือตามกระแส
จริยธรรมของกำนัน มี ๕ อย่าง
๑. รู้จักอดทน วางตัวเป็นผุ้ใหญ่
๒. รู้จักใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับบุคคล
๓. รู้จักทำประโยชน์ต่อสังคมอย่างสม่ำเสมอ
๔. มั่นคงในหน้าที่ มีเหตุผล ไม่ลำเอียง
๕. มุ่งความสงบเรียบร้อย
 9 จริยธรรมสำหรับชาวบ้าน มี ๑๐ อย่าง
๑. นึกถึงภ้ยของความยากจน
๒. นึกถึงผลของความขยัน
๓. นึกถึงทางอาชีพของเศรษฐี คือ ขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร เลียงชีวิต เหมาะสม
๔. นึกถึงอาหารที่ต้องหามาเลี้ยงชีวิต
๕. ตรวจตรามรดกทุนรอนหรือกรรมสิทธิ์
๖. นึกถึงบรรพบุรุษ ว่าท่านดำรงชีวิตและวงศ์ตระกูลได้อย่างไร
๗. ภูมิใจในสภาวะที่ได้เกิดมาเป็นมนุษยชาติ
๘. เทียบเคียงฐานะ วิชา และอาชีพให้ทันเพื่อนบ้าน
๙. เหลือกคบหาสมาคมแต่กับคนขยัน
๑๐. ปลุกใจให้เกิดความอุตสาหะ อยู่เสมอๆ
 10 จริยธรรมของครู อาจารย์ ๗ อย่าง
๑. ทำตนให้ศิษย์รัก
๒. ทำตนให้เป็นที่ยำเกรง
๓. ทำตนให้เชี่ยวชาญยิ่งขึ้น
๔. อุตส่าห์พร่ำสอนวิชาต่างๆ
๕. อดทนต่อถ้อยคำ
๖. ขยายคำที่ลุ่มลึก ให้แจ่มชัด
๗. ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางที่ผิด
 11 จริยธรรมของนักเรียน มี ๔ อย่าง
๑. สุ ตั้งใจฟัง
๒. จิ นำไปคิด
๓ ปุ ไม่เข้าใจถาม
๔. ลิ ยามกลัวลืมก็ให้จด
 12 จริยธรรมของชาวนา ชาวไร่ ๕ อย่าง
๑. มีศรัทธา ต่างพืช
๒. มีความเพียรบากบั่น ต่างฝน
๓. มีปัญญา ต่างแอก ต่างไถ
๔. มีหิริ ความละอาย ต่างงอนไถ
๕. มีสติ ต่างผาลและปฏัก
13 จริยธรรมของนายแพทย์
๑. อดทน สงบเสงี่ยมด้วยจรยยาแพทย์
๒. เมตตา กรุณา ปรารถนาดี มีความสงสารคนไข้
๓ . ขวนขวายงานในหน้าที่
๔ . ประพฤติประโยชน์ทั่วไป
๕ มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
๖. อ่อนหวานในการปฏิสันถาร
๗. ถ่อมตัว ปรับปรุงตนให้เข้ากับคนทุกชั้น
๘. หมั่นขยันในหน้าที่อันเป็นกรณียะ (อันตนพึงกระทำ).
 14  จริยธรรมของนายอำเภอ มี ๕
๑. รู้จักปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ท้องถิ่น
๒. ปรารถนาดีต่อประชาชน
๓. ฉลาดในการใช้คนให้ทำงาน
๔. สนับสนุนส่งเสริมความร่วมมือทุกฝ่าย
๕. มีความซื่อสัตย์ สุจริต
15 จริยธรรมปลัดอำเภอ มี ๔
๑. มีประสิทธิภาพในหน้าที่การงาน ทั้งวิชาการและธุรการ ปรับปรุงให้้ก้าวหน้าอยู่เสมอ
๒. รู้จักสำรวมระวังตัวเอง ไม่มัวเมาประมาท ยึดถือระเบียบแบบแผน ประเพณี
๓. ทำการขวนขวายให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน
๔. ฉลาดในการทำตัวให้เข้าถึงประชาชน ไม่เลือกที่รัก ผลักที่ชัง
16 จริยธรรมของนายกเทศมนตรี ๕ อย่าง
๑. รู้จักฟัง รู้จักหยั่งเสียง รู้ถึงความต้องการของท้องถิ่น
๒. ชอบความสะอาด เกลียดความสกปรก
๓. รู้จักทำหน้าที่ให้เหมาะสม
๔. มีความละอายในการทำผิดจากทำนองคลองธรรม
๕. ไม่ปล่อยปละละทิ้งการงานให้อากูล คั่งค้าง
17 จริยธรรมของลูกค้า ๔ อย่าง
๑. ไม่เป็นคนใจน้อย รู้จักต่อรอง
๒. ไม่เบ่งวางท่าว่า ฉันมีเงิน
๓. ไม่ผลุนผลัน มีสติ และมีสิตะ(ยิ้มแย้ม) ใจเย็น
๔. รู้กาละเทศะ ว่า เป็นสมัยที่เหมาะสมหรือไม่
18 จริยธรรมของผู้พิพากษา มี ๕
๑. นะ ฉันทาคติ ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
๒. น ะโทสาคติ ไม่ลำเอียงเพราะไม่ชอบ
๓. นะ ภะยาคติ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๔ นะ โมหาคติ ไม่ลำเอียงเพราะหลง หรือรู้เท่าไม่ถึงการ (นะ แปลว่า ไม่)
๕. มัชฌิมาปฏิปทา ตัดสินให้เป็นกลาง อย่างยุติธรรม
19 จริยธรรมของตำรวจ มี ๑๐ อย่าง
๑. ไม่เห็นแต่ได้ฝ่ายเดียว
๒. ทำตนให้เป็นที่พึ่งของประชาชน
๓. ไม่ใช้อำนาจข่มเหง กดขี่ รีดไถประชาชน
๔. บำบัดทุกข์ บำรุงสุข
๕. ไม่ลงไม้ลงมือกับประชาชน เกินความจำเป็น
๖. รู้จักใช้วาจาที่นุ่มนวล ไม่ดูหมิ่นประชาชน
๗. รู้จักถ่อมตน
๘. ประพฤติให้เหมาะสมกับหน้าที่ที่มีเกียรติ
๙. เป็นมิตรกับประชาชน
๑๐. มีความสามัคคี ทำงานเป็นทีม เพื่อความเจริญในหน้าที่การงาน ยิ่งๆขึ้นไป
20 จริยธรรมของประชาชน ๑๑ อย่าง
๑. ไม่เบ่งหรืออวดดีต่อตำรวจ
๒. รู้จักยำเกรงต่อผู้ปฏิบัติตามหน้าที่
๓. ไม่ดูหมิ่นเจ้าหน้าที่ ด้วยการให้สินบน
๔. ตั้งตนไว้ชอบ เป็นพลเมืองที่ดี
๕. ทำงานเลี้ยงชีพอย่างสุจริต
๖. ฉลาดในการปกครองตนเอง
๗. เชื่อฟังเคารพในคำสั่ง ระเบียบ กฏหมาย
๘. มีความพร้อมเพรียงกันตามฐานะอาชีพ
๙. รู้จักประหยัด ใช้่จ่ายให้สมเหตุสมผล
๑๐. ไม่มัวเมาลุ่มหลง ติดอบายมุข มีเหล้า กัญชา ยา ฝิ่น เป็นต้น
21 จริยธรรมของลุกจ้าง ๕
๑. ซื่อตรงต่อนายจ้าง
๒. ถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่เอาเปรียบนายจ้าง ด้วยการตั้งใจ สู้งานให้สมกับค่าจ้าง
๓. ตรงต่อเวลา ทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
๔. เคารพกติกาของร้าน หรือบริษัทที่ทำงาน ไม่ทำตามชอบใจ
๕. ฉลาดในการแำก้ไขปัญหา เมื่อเจอปัญหา
22 จริยธรรมของนายจ้าง ๕
๑. ปรารถนาดีต่อลูกจ้าง ยามดีก็ใช้ ยามไข้ก็รักษา
๒. เอาใจ ให้กำลังใจ ด้วยการรู้จักใช้คำพูดที่เหมาะสม
๓. สงเคราะห์ ในคราวที่ควรสงเคราะห์
๔. ฉลาดในการใช้คน หรือแบ่งงาน
๕. ฉลาดในการปกครอง ไม่กดขี่ข่มเหงน้ำใจด้วยเห็นแก่ประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว
23 จริยธรรมของคู่ชีวิต หรือคนครองเรือน หรือคฤหัส หรือโยม ๔ อย่าง
๑. สมสัทธา มีศรัทธา คือความเชื่อความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
๒. สมสีลา มีศีลหรือระเบียบวินัยดีงามเสมอกัน
๓. สมจาคา มีใจเสียสละเท่ากัน หรือเสมอเหมือนกัน (ใจบุญเท่ากัน)
24 จริยธรรมของเจ้าอาวาส
1.บำรุงรักษาวัด จัดกิจการ และศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
2.ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ที่มีอยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ
ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม
3.เป็นธุระในการอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัย แก่บรรพชิตและคฤหัสถ์
4.ให้ความสะดวกตามสมควรในการทำบุญบำเพ็ญกุศล
25 หน้าทีและบทบาทของพระสงฆ์
๑. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว คือ งดเว้นจากการเบียดเบียนกัน ไม่ทำลายทั้งชีวิตตนเองและผู้อื่น
๒. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี งดเว้นอบายมุข 6
๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดีด้วยน้ำใจอันงามโดยยึดถือหลักสังคหวัตถุ 4
๔. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง คือ สอนให้รู้จักแยกแยะมิตรแท้ มิตรเทียม ให้คบบัณฑิตเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพ
๕. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ในสิ่งที่สดับเล่าเรียนมาแล้ว เช่น การแสวงหาทรัพย์โดยวิธีสุจริต การรู้จักรักษาทรัพย์ และการดำรงชีวิตตามฐานะ
๖. บอกทางสวรรค์ให้ คือ การแนะนำวิธีครองตน ครองคน ครองงาน หรือวิธีครองชีวิตให้ได้รับผลดีมีความสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

tongsamut

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ประกาศศาสนา, ประกาศศาสนา
http://watbusaya.org